Game-Based Learning (GBL) เป็นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ Active Learning โดยใช้เกมเป็นสื่อการเรียนรู้ ออกแบบการเรียนรู้โดยสอดแทรกเนื้อหาบทเรียนลงไปในเกม ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านกิจกรรมที่ออกแบบไว้ ทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ทักษะ และความเพลิดเพลินไปพร้อมๆกันจากการเล่นเกมและเป็นการจูงใจให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง
Mobile Learning หรือ m-Learning เป็นการจัดการเรียนรู้ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีไร้สายและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาด้วยอุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่ (Mobile Device) เช่น Smart Phone, Notebook Computer, Tablet PC เป็นต้น
การนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวสมองมาใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพให้สูงสุด
การให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการศึกษาของตนเองโดยกระตุ้นการเชื่อมโยงส่วนบุคคลระหว่างแนวคิดในตำราเรียนและการประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ "ในชีวิตจริง" ทฤษฎีนี้ช่วยให้นักเรียนสร้างความหมายส่วนตัว และปลูกฝังความสนใจในตัววัสดุ และผู้คนที่พวกเขากำลังทำงานด้วยตลอดจนความสนใจตัวผลงาน
การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่มีครูเป็นผู้กระตุ้นเพื่อนำความสนใจที่เกิดจากตัวนักเรียนมาใช้ในการทำกิจกรรมค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวนักเรียนเอง นำไปสู่การเพิ่มความรู้ที่ได้จากการลงมือปฏิบัติ การฟังและการสังเกตุจากผู้เชี่ยวชาญ โดยนักเรียนมีการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม ที่จะนำมาสู่การสรุปความรู้ใหม่ มีการเขียนกระบวนการจัดทำโครงงานและได้ผลการจัดกิจกรรมเป็นผลงานแบบรูปธรรม
Adaptive learning เป็นการเรียนรู้ที่ปรับวิธีการให้ตรงกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน บนความเชื่อเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Difference) การสอนที่ปรับให้เข้ากับผู้เรียนทำให้เกิดการเรียนรู้ได้รวดเร็ว เหมาะสมกับบุคคลเช่น กิจกรรมการเรียนด้วยภาพ เสียง สื่อสำหรับผู้เรียน เสริมกระบวนการเรียน การเรียนรู้แบบ Adaptive Learning ได้ถูกปรับเปลี่ยนวิธีการ และได้รับพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความน่าสนใจมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้สื่อเข้ามามีส่วนร่วม การใช้เทคโนโลยี เทคนิคการ เรียนการสอนแบบใหม่ ๆ หรือแม้แต่แนวคิดการทำงานในองค์กรก็สามารถถูกนำมาเป็นรูปแบบ การเรียนรู้ได้
แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียน เป็นแบบฝึกที่ช่วยฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ ด้านการอ่านการเขียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดทำให้นักเรียนไม่ได้มาเรียน On Site ทำให้นักเรียนเกิดการถดถอยทางการเรียนรู้ แบบฝึกมีท้ังหมด 5 ชุด
การจัดการเรียนการสอนรายวิชาพระพุทธศาสนา หรือ สาระพระพุทธศาสนาที่มีเนื้อหาจำนวนมากทำให้ผู้เรียนขาดความสนใจในการเรียนการสอน ครูผู้สอนจึงอยากนำเนื้อหาสาระในหน่วยการเรียนรู้พุทธสาวก พุทธสาวิกา และบุคคลตัวอย่างมาจัดเป็นกิจกรรม AL ,เกม , รวมถึงปัญหาเป็นฐาน