Australia

Pixel perfect design with awesome contents

Explore Now

WE_STRONG สร้างครูดีสู่ห้องเรียน



ให้คะแนนสมรรถนะนวัตกรรม


3

3

3

3

3

เลือกความสอดคล้องกับสมรรถนะ

ประเภท : ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา (School Management)

เหมาะกับระดับชั้น

อนุบาล

ประถมศึกษา (ป.1-3)

ประถมศึกษา (ป.4-6)

มัธยมศึกษาตอนต้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย

หลักการและแนวคิดของนวัตกรรม การนำไปใช้ จุดเด่น
ขั้นที่ ๑ สร้างความตระหนัก
          ๑) ครูเข้าใจถึงกรอบแนวคิด โมเดล WE_STRONG สร้างครูดีสู่ห้องเรียน ประกอบด้วย W (Way of Life) : การดำเนินชีวิต(ทางสายกลาง) E (Evaluation) : การประเมิน  S (Sufficient) : ความพอเพียง  T (Transparent) : ความโปร่งใส  R (Realize) : ความตื่นรู้ O (Onward) : มุ่งไปข้างหน้า N (kNowledge) : ความรู้ และ G (Generosity) : ความเอื้ออาทร
๒) ครูชี้แจงและทำความเข้าใจให้นักเรียนทราบถึงคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน
          ๓) ครูจัดกกิจกรรมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน โดยใช้สื่อและวิธีการที่
หลากหลาย เช่น ดูวีดีทัศน์เรื่องที่เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม เล่าเรื่องชีวิตจริงที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เล่าข่าวที่เกิดขึ้น   ในชีวิตประจำวันจากหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ข่าวโซเชียล ข่าวออนไลน์
          ขั้นที่ ๒ ชักนำคุณธรรมสู่ห้องเรียน
          ๑) ครูและนักเรียนร่วมกันระดมความคิดวิเคราะห์สภาพปัญหา และพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ควรแก้ไข    แล้วกำหนดคุณธรรมเป้าหมายพร้อมพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก เพื่อพัฒนาเป็นคุณธรรมอัตลักษณ์ของห้องเรียน
          ๒) ครูจัดทำแผนการเรียนรู้ที่บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยใช้โครงงานคุณธรรมเป็นฐาน
          ๓) ให้นักเรียนจัดทำโครงงานคุณธรรมพร้อมทั้งนำเสนอ
          ขั้นที่ ๓ เพียรติดตามความดี
          ๑) ครูสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติตนของนักเรียนตามคุณธรรมอัตลักษณ์ของห้องเรียนเป้นระยะอย่างต่อเนื่อง
          ๒) ครูประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตนของนักเรียนตามคุณธรรมอัตลักษณ์เป็นรายงานบุคคลหากมีนักเรียน คนใดยังมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ให้ครูร่วมกับครอบครัวดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียน
          ๓) ครูสรุปผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารสถานศึกษาทราบ และโรงเรียนดำเนินการรายงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
          ขั้นที่ ๔ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
          ๑) ครูและนักเรียนจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรงงานคุณธรรมในห้องเรียน ระหว่างห้องเรียนและสรุป   ถอดบทเรียน เช่น การจัดนิทรรศการ การนำเสนอผลงานที่ประสบความสำเร็จของแต่ละห้องเรียน
          ๒) คัดเลือกห้องเรียนที่นักเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามคุณธรรมอัตลักษณ์ครบทุกคนเพื่อให้เป็นห้องเรียนคุณธรรมต้นแบบ
          ขั้นที่ ๕ ยกย่อง เชิดชู
          ๑) ยกย่อง เชิดชูเกียรติห้องเรียนคุณธรรมต้นแบบ
          ๒) ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ห้องเรียนคุณธรรมต้นแบบ
รูปแบบ แนวทางดำเนินงาน ผลผลิต (OUTPUT) ผู้บริหาร ครู นักเรียน W : Way of Life -นำแนวทาง ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข สู่การปฏิบัติ -นำแนวทาง ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข สู่การปฏิบัติ - นักเรียนปฏิบัติตามแนวทางสายกลาง ของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง - ตระหนักถึงคุณธรรม    อัตลักษณ์ของโรงเรียน E : Evaluation -กำกับติดตามการดำเนินงาน -นิเทศชั้นเรียน On-Site /   On line -ประเมินพฤติกรรมนักเรียนรายบุคคล -ปฏิบัติตนตามคุณธรรมอัตลักษณ์ -ความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน -คุณลักษณะที่พึงประสงค์ -คุณภาพผู้เรียน   S : Sufficient -พัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง -รับทราบทิศทางการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนคุณธรรม   -โมเดล WE-STRONG สร้างครูดีสู่ห้องเรียน -โรงเรียนคุณธรรม -สถานศึกษาพอเพียง T : Transparent -ประชุมจัดทำแผนและปฏิบัติตามเจตจำนงสุจริตในการบริหารงานโรงเรียน -ปฏิบัติตามเจตจำนงสุจริตในการบริหารงานโรงเรียน -ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของการดำเนินงานของโรงเรียน R : Realize -ประชุมชี้แจงเพื่อแจ้งนโยบายและทิศทางการพัฒนาของโรงเรียน สร้างความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงโทษของการขาดคุณธรรมจริยธรรมและเกิดความตื่นรู้ -รับทราบทิศทางการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม -เตรียมตัวสร้างความรู้ ความเข้าใจ -ครูดี -นักเรียนดี -ผู้บริหารดี -โรงเรียนดี O : Onward -จัดประชุมครู บุคลากร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อเสนอความต้องการนำสู่การกำหนดเป้าหมายห้องเรียนคุณธรรม -ตัวแทนนักเรียนร่วมประชุม -มีวิสัยทัศน์ เป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจน -ห้องเรียนคุณธรรม -Best Practice N : kNowledge -ศึกษาความรู้ความเข้าใจโครงการโรงเรียนคุณธรรม -ศึกษาความรู้ความเข้าใจกิจกรรมห้องเรียนคุณธรรม -MOU ในการปฏิบัติงานการเรียนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานคุณธรรมเป็นฐาน -ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อกำหนด กฎหมาย G : Generosity -กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียน -แลกเปลี่ยนเรียนรู้ -ยกย่องเชิดชูเกียรติ -ปฏิบัติตามข้อกำหนดของโรงเรียน -แลกเปลี่ยนเรียนรู้ -โรงเรียนคุณธรรม -โรงเรียนสุจริต -โรงเรียนวิถีพุทธ -สถานศึกษาพอเพียง (๑) ผู้บริหาร ครู และนักเรียน มีความตระหนักรู้ เข้าใจและคิดอย่างมีเหตุผล ต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม                   
(๒) ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ร่วมกันสร้างเครือข่ายชุมชนองค์กรโรงเรียนคุณธรรม อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ข้อควรระวังในการใช้นวัตกรรม ผลที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียน แหล่งเรียนรู้/โรงเรียนต้นแบบ
การวิเคราะห์คุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน (ศึกษาปัญหา สาเหตุ พฤติกรรมเชิงบวก คุณธรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหา และเรียงลำดับความสำคัญ) ให้เป็นไปตามบริบทของโรงเรียน ๑) ปฐมวัย ได้กำหนดคุณธรรมอัตลักษณ์ คือ ความมีวินัย                   
- การเข้าแถวรอคอยตามลำดับก่อน
-หลัง เช่นการรับของและส่งงานครู
                  
- การเข้าเข้าทำกิจกรรมหน้าเสาธงชาติ
                  
- การเดินแถวไปยังจุดต่างๆ อย่างมีระเบียบ
                  
- การล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหาร
                  
- การแปรงฟันทุกครั้งก่อนนอน
                  
- การเก็บรองเท้าเข้าที่อย่างเป็นระเบียบ
                  
- การมีมารยาทในการรับประทานอาหาร                   
- การปฏิบัติตนตามข้อตกลงของห้องเรียน
                  
  - การทิ้งขยะให้ถูกที่
(๒) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑,๒,๓ ได้กำหนดคุณธรรมอัตลักษณ์ คือ ความรับผิดชอบ                   
- การนั่งถูกต้องเหมาะมกับการเขียน
                  
- การจับดินสอถูกวิธี
                  
- ความสัมพันธภาพระหว่างครูและนักเรียน
                  
- วิธีการสอนของครูแบบ
Active Learning
             
- มีข้อมูลความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนเป็นบุคคล                    
- การมอบหมายงานและการตรวจแบบฝึกหัดของครู
                  
- มีร่องรอยการแก้ไขของนักเรียนตามคำแนะนำของครู การเขียนเรื่องสั้นๆ
  จากภาพที่กำหนดให้ตามความเหมาะสม                   
- การเขียนสะกดคำตามคำบอกและการเขียนเรื่องสั้นๆ จากภาพที่กำหนดให้สอดคล้อง
กับระดับชั้น             
- อ่านออกเสียง ประโยค ข้อความ ที่กำหนด ตามระดับชั้น
                  
- ตอบคำถามจากเรียนที่อ่านและฟัง ตามระดับชั้น
                  
- ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนด และบทร้อยกรองตามความสนใจ ตามระดับชั้น
                  
- เว้นระยะห่าง ล้างมือเป็นประจำ สวมหน้ากากอนามัย
๓) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔,๕,๖ ได้กำหนดคุณธรรมอัตลักษณ์ คือ ความซื่อสัตย์                   
ความซื่อสัตย์ของครู
                  
- มีการวางแผนการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ
                  
- ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนธรรมเนียมปฏิบัติ
ของทางราชการและจรรยาบรรณวิชาชีพ          
- ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่ในการแสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบ                   
- ดำเนินชีวิตโดยยึดหลักพอเพียงอย่างมีความสุข เป็นแบบอย่างแก่สาธารณชน
                  
ความซื่อสัตย์ของนักเรียน
- มีการทำงานเป็นขั้นตอน                   
- ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อปฏิบัติและข้อตกลงของห้องเรียน                   
- ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา ไม่ถือเอาสิ่งของหรือผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน                   
- มีพฤติกรรมประหยัด อดออมและใช้สิ่งของอย่างคุ้มค่า                   
ความซื่อสัตย์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโรงเรียน                   
- จัดสภาพแวดล้อมร่มรื่น สวยงามเป็นสัดส่วนปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนการสอน                   
- มีข้อตกลงและแนวปฏิบัติร่วมกันในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา                   
- บริหารงานอย่างมีส่วนร่วม โปร่งใส ตรวจสอบได้                   
- ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด
โรงเรียนบ้านโนนทอง สพป.ขอนแก่น เขต 5

Comment

Comment

นายสมไชย กระต่ายทอง0 2024-04-05 15:53:22
message user image
ยอดเยี่ยมเลยครับครู
ตอบกลับ 0 Reply   0  Like 
นายสมไชย กระต่ายทอง 2024-04-05 15:53:04
message user image
ผลิตมาให้ติดตามเพิ่มนะครับครู
ตอบกลับ 0 Reply   0  Like 
นางกิตติพร อินทำ2 2022-09-03 14:29:18
message user image
ตอบกลับ 0 Reply   1  Like 
นางกิตติพร อินทำ 2022-09-03 13:51:50
message user image
ตอบกลับ 0 Reply   1  Like 

นวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง

WE_STRONG สร้างครูดีสู่ห้องเรียน

“WE–STRONG สร้างครูดีสู่ห้องเรียน” จัดทำขึ้นเพื่อสร้างนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๕ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ประเภทผู้บริหาร ตามปฏิทินการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างห้องเรียนคุณธรรม โดยใช้นวัตกรรม WE–STRONG สร้างครูดีสู่ห้องเรียน เพื่อให้ครูและนักเรียนกำหนดคุณธรรมอัตลักษณ์เพิ่มเติมเป็นของห้องเรียน และ เพื่อพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนให้เพิ่มขึ้น พัฒนาขึ้นเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมพัฒนาครูให้มีความตระหนัก ชักนำคุณธรรมสู่ห้องเรียน เพียรติดตามความดี มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเชิดชูนักเรียนดีมีคุณธรรม ผ่านกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม SWOT กำกับด้วยวงจรบริหารงานคุณภาพ PDCA ประกอบด้วยการวางแผน การปฏิบัติ การตรวจสอบ และการดำเนินการให้เหมาะสม โดยมีผู้บริหาร ครูและนักเรียน ผู้ปกครอง และศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นบุคลากรสำคัญในการดำเนินงานพัฒนารูปแบบนวัตกรรม

Adaptive Learning Algorithms การเรียนรู้ที่เหมาะสม

Adaptive learning เป็นการเรียนรู้ที่ปรับวิธีการให้ตรงกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน บนความเชื่อเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Difference) การสอนที่ปรับให้เข้ากับผู้เรียนทำให้เกิดการเรียนรู้ได้รวดเร็ว เหมาะสมกับบุคคลเช่น กิจกรรมการเรียนด้วยภาพ เสียง สื่อสำหรับผู้เรียน เสริมกระบวนการเรียน การเรียนรู้แบบ Adaptive Learning ได้ถูกปรับเปลี่ยนวิธีการ และได้รับพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความน่าสนใจมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้สื่อเข้ามามีส่วนร่วม การใช้เทคโนโลยี เทคนิคการ เรียนการสอนแบบใหม่ ๆ หรือแม้แต่แนวคิดการทำงานในองค์กรก็สามารถถูกนำมาเป็นรูปแบบ การเรียนรู้ได้

Pushing Back on education technology

Pushing Back on Education Technology คือ การนำเทคโนโลยีมาผลักดันให้เกิดการปรับปรุงระบบการศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของนักเรียนในการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เป็นโอกาสใหม่สำหรับทั้งนักเรียนและครูในการทำให้การเรียนรู้และการสอนมีประสิทธิภาพ การนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ เพื่อให้ได้ประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้