Australia

Pixel perfect design with awesome contents

Explore Now

BLOOM S TAXONOMY

ให้คะแนนสมรรถนะนวัตกรรม


3

3

3

3

3

เลือกความสอดคล้องกับสมรรถนะ

ประเภท : ยังไม่ระบุ

เหมาะกับระดับชั้น

อนุบาล

ประถมศึกษา (ป.1-3)

ประถมศึกษา (ป.4-6)

มัธยมศึกษาตอนต้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย

หลักการและแนวคิดของนวัตกรรม การนำไปใช้ จุดเด่น
นิยาม :  การเรียนรู้ที่ต้องอาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้นฐาน การจำแนกการเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย โดยในแต่ละด้านจะมีการจำแนกระดับความสามารถจากต่ำสุดไปถึงสูงสุด
ความสำคัญ : Bloom’s Taxonomy กล่าวถึงการจำแนกการเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย โดยในแต่ละด้านจะมีการจำแนกระดับ ความสามารถจากต่ำสุดไปถึงสูงสุด เช่น ด้านพุทธิพิสัย เป็นพฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความคิด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เริ่มจากความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมิน นอกจากนี้ยังนำเสนอระดับความสามารถที่มีการปรับปรุงใหม่ ตามแนวคิดของ Anderson and Krathwohl (2001) เป็น การจำ (Remembering) การเข้าใจ (Understanding) การประยุกต์ใช้ (Applying) การวิเคราะห์  (Analysing) การประเมินผล (Evaluating) และการสร้างสรรค์ (Creating) ด้านจิตพิสัย เป็นค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม พฤติกรรมด้านนี้อาจไม่เกิดขึ้นทันที ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้ จำแนกเป็น การรับรู้, การตอบสนอง, การสร้างค่านิยม, การจัดระบบ และการสร้างคุณลักษณะจากค่านิยม ด้านทักษะพิสัย เป็นพฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรงโดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะ จำแนกเป็น ทักษะ การเคลื่อนไหวของร่างกาย, ทักษะการเคลื่อนไหวอวัยวะสองส่วนหรือมากกว่าพร้อมๆกัน, ทักษะการ สื่อสารโดยใช้ท่าทาง และทักษะการแสดงพฤติกรรมทางการพูด
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา 3 ด้าน ทฤษฎีที่ส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ ให้ครูสามารถนำไปปรับใช้ในการสอน และทำให้รู้ว่าผู้เรียนควรได้รับอะไร และอย่างไรจากการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านพุทธิพิสัย พฤติกรรมด้านสมอง ด้านความคิด และสติปัญญา ที่ครูสามารถนำไปใช้เป็นแนวในการตั้งคำถามในห้องเรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการคิดในระดับที่สูงขึ้น
1. การจดจำ (Remembering) ใช้ความจำเพื่อสร้างหรือค้นหานิยาม ข้อเท็จจริง หรือทบทวนข้อมูลที่เรียนมาก่อนหน้านี้ ซึ่งผู้เรียนสามารถตอบได้ว่าสิ่งที่เรียนมาจากไหน เพราะเกิดจากการจดจำ
2. การทำความเข้าใจ (Understanding) สร้างความหมายจากรูปแบบการใช้หลายประเภท อาจจะเป็นข้อความ ภาพ หรือกิจกรรม เช่น การแปลความ การสร้างตัวอย่าง การจำแนก การสรุป ซึ่งผู้เรียนเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งที่ได้เรียนมา สามารถอธิบายตามความเข้าใจของตัวเองได้
3. การประยุกต์ใช้ (Applying) สามารถใช้เนื้อหาที่เรียนมาเพื่อนำไปปฏิบัติผ่านสื่อ เช่น แบบจำลอง การนำเสนอ การสัมภาษณ์ และการเลียนแบบ ซึ่งผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
4. การวิเคราะห์ (Analyzing) แบ่งเนื้อหาหรือแนวคิดออกเป็นส่วนย่อย ระบุความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันของแต่ละส่วน และความเชื่อมโยงต่อโครงสร้างในภาพรวม ซึ่งผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนมาคิดอย่างลึกซึ้ง รวมทั้งเเยกเเยะหาความสัมพันธ์เเละเหตุผลได้
5. การประเมิน (Evaluating) ใช้กฎเกณฑ์และมาตรฐานเพื่อพิจารณาผ่านการตรวจสอบและการวิจารณ์ ซึ่งผู้เรียนสามารถตั้งเกณฑ์ตัดสิน เปรียบเทียบคุณภาพหรือประสิทธิภาพของการเรียนรู้ได้
6. การสร้างสรรค์ (Creating) รวบรวมองค์ประกอบและสร้างให้เป็นสิ่งที่สมบูรณ์ เรียบเรียงให้เกิดรูปแบบหรือโครงสร้างใหม่ผ่านการสร้าง วางแผน และการผลิต ซึ่งผู้เรียนสามารถคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ ได้ด้วยตนเอง หรือสามารถปรับปรุงแก้ไขออกแบบ ตั้งสมมุติฐานใหม่ ๆ ได้
ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เราจะเรียนรู้  เกิดการเรียนรู้ใน 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ  
ข้อควรระวังในการใช้นวัตกรรม ผลที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียน แหล่งเรียนรู้/โรงเรียนต้นแบบ
ทฤษฎีข้างต้นผู้สอนสามารถนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการออกแบบหลักสูตรได้ ด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ว่าต้องการให้พนักงานมีพฤติกรรมเรื่องนั้น ๆ ในระดับใด เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์ได้แล้ว จะทำให้ง่ายขึ้นในการออกแบบหลักสูตรสำหรับการเรียนออนไลน์และการเรียนการสอนในห้องเรียน ซึ่งผู้สอนจะได้ประโยชน์จากทฤษฎี ดังนี้ > วางแผนและจัดการเรียนการสอนได้เหมาะสม > มีกลยุทธ์ในการออกแบบบทเรียน และการประเมินที่ถูกต้อง > มีความมั่นใจว่าการเรียนการสอนและการประเมินสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ นักเรียนได้รับการพัฒนาในทุกด้าน http://eresearch.library.ssru.ac.th/bitstream/123456789/201/6/ird_176_55%20(6).pdf
http://aksornnex.com/index.php/teacher-resource/NEWS/2467/การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม-Bloom-s-Taxonomy https://www.kruachieve.com/เรื่องราว/ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลู/

Comment

Comment

นายไวย์โชค พลศรี0 2023-05-01 18:16:20
message user image
ตอบกลับ 0 Reply   1  Like 
นางสาวกนกวรรณ ศิริเลิศ 2023-04-29 15:41:17
message user image
ดีมากเลยค่ะ
ตอบกลับ 0 Reply   0  Like 
MrPitak​ Kavevon2 2023-02-01 11:21:07
message user image
ดีมากๆได้ความรู้ไปปรับใช้
ตอบกลับ 0 Reply   0  Like 
นายภาณุวัฒน์ ไร่นากิจ 2022-11-11 11:19:59
message user image
ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ
ตอบกลับ 1 Reply   1  Like 
2023-02-01 14:55:30 message user image
นางพัทธ์จรรย์ธร ทองเล็ก
444
นางกิตติพร อินทำ2 2022-09-03 13:47:43
message user image
ตอบกลับ 1 Reply   1  Like 
2023-02-01 14:56:06 message user image
นางพัทธ์จรรย์ธร ทองเล็ก
5555

นวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง

BRAIN-BASED LEARNING

การนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวสมองมาใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพให้สูงสุด

BLOOM S TAXONOMY

การเรียนรู้ที่ต้องอาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้นฐาน การจำแนกการเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย โดยในแต่ละด้านจะมีการจำแนกระดับความสามารถจากต่ำสุดไปถึงสูงสุด

DIGITAL CITIZENSHIP

แนวคิดแนวปฏิบัติที่ให้พลเมืองได้เรียนรู้และมีความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างชาญฉลาด มีการบริหารจัดการ กำกับตนเองได้ รวมถึงรู้เท่าทันและสามารถปกป้องตนเองจากความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล