Australia

Pixel perfect design with awesome contents

Explore Now

BRAIN-BASED LEARNING

ให้คะแนนสมรรถนะนวัตกรรม


3

3

3

3

3

เลือกความสอดคล้องกับสมรรถนะ

ประเภท :

เหมาะกับระดับชั้น

อนุบาล

ประถมศึกษา (ป.1-3)

ประถมศึกษา (ป.4-6)

มัธยมศึกษาตอนต้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย

หลักการและแนวคิดของนวัตกรรม การนำไปใช้ จุดเด่น
นิยาม: การนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวสมองมาใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพให้สูงสุด
ความสำคัญ :  การจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง (Brain – based Learning) เป็นรากฐานสำคัญในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสถานการณ์โลกในปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้และการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่สอดคล้องกับธรรมชาติและการทำงานของสมอง ให้เด็กได้ค้นพบตนเอง รู้ศักยภาพของตนเอง มีความสามารถในการเรียนรู้ การทำงาน สามารถแก้ปัญหาในด้านวิชาชีพ รวมถึงปัญหาในชีวิตจริงได้พร้อมรับมือกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างรวดเร็ว ผ่านครูผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการทำงานของสมอง พหุปัญญาทางสมอง 8 ด้าน สามารถนำกิจกรรมในแต่ละด้านมาฝึกทักษะในสมองซีกซ้ายและซีกขวา ได้ดังนี้
สมองซีกซ้าย  มีความสามารถในการวิเคราะห์ แยกแยะรายละเอียด ความคิดเชิงวิเคราะห์ การเรียนรู้ภาษา การจัดลำดับก่อนหลัง คณิตศาสตร์ การคำนวณ และการวิเคราะห์เกี่ยวกับเวลา ซึ่งกิจกรรมที่จะพัฒนาสมองและเพิ่มทักษะทางปัญญาให้เต็มตามศักยภาพ คือ
    1.ด้านภาษาและการสื่อสาร มีความสามารถในการคิด และแสดงออกโดยการใช้ภาษา สำนวน และมี ความชื่นชอบในวิชาภาษาไทย ในการอ่านและการเขียน กิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาด้านภาษา เช่น พัฒนาทักษะในด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน
    2.ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ มีทักษะในการใช้เหตุผล การซักถามปัญหาให้คิดเชิงเหตุผล มี ความสามารถในการคำนวณ คิดตัวเลข สามารถทำโจทย์คณิตศาสตร์ที่สลับซับซ้อนได้ คิดปริมาณและตั้งสมมติฐานต่าง ๆ ในทางวิทยาศาสตร์ กิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาด้าน ได้แก่ การทดลองวิทยาศาสตร์ การจัดทำบัญชี การสร้างภาพและลวดลายต่าง ๆ
   3. ด้านมนุษยสัมพันธ์และการเข้าใจผู้อื่น มีความสามารถในการโน้มน้าวจิตใจคนรอบข้าง ให้เชื่อได้ เป็นคนน่าเชื่อถือ น่าไว้วางใจและคล้อยตาม มีความสามารถในการฟังผู้อื่นได้ดีมาก กิจกรรมพัฒนาด้านนี้ ได้แก่ การทำโครงงานกลุ่ม การสังเกต การสนทนากับเพื่อน การโต้วาที การเล่นกีฬา
   4. ด้านการเข้าใจธรรมชาติ มีความสามารถในการสังเกตรูปแบบความเป้นอยู่ของธรรมชาติ เข้าใจ ระบบธรรมชาติ การจัดหมวดหมู่สิ่งต่างๆ ได้แก่กิจกรรมทัศนศึกษา การปลูกต้นไม้ การถ่ายรูป การเดินป่า การศึกษาพืชและต้นไม้ต่าง ๆ
สมองซีกขวา มีหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จินตนาการ ไหวพริบ ความสนุกสนานทาง ดนตรี และมิติสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งกิจกรรมที่จะพัฒนาสมองและเพิ่มทักษะทางปัญญาให้เต็มตามศักยภาพ คือ
   1.ด้านร่างกายและความเคลื่อนไหว มีความสามารถในการใช้ร่างกายในการเคลื่อนไหว เช่น การเต้น ออกกำลังกาย รวมถึงการทำงานหัตถกรรม การก่อสร้าง การซ่อมแซมสิ่งของ ซึ่งการออกแบบการเรียนการสอนกับผู้เรียนกลุ่มนี้ต้องเป็นการออกแบบที่ใช้ร่างกายในการเรียนรู้ กิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านนี้ ได้แก่ การที่ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ลงมือทำจริง ได้สัมผัส และใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ เช่น การทัศนศึกษา การแสดงละคร การเล่นกีฬา การเต้นรำ การแสดงละคร
   2. ด้านมิติสัมพันธ์และจินตนาการ มีความสามารถในการออกแบบงานศิลปะ หรือออกแบบงานเพื่อ นำเสนอ การปรับแต่งภาพ หรืองานกราฟฟิก กิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาด้านนี้ ได้แก่ การวาดภาพ การเขียนการ์ตูน จัดดอกไม้ เขียนแผนที่ความคิด การสร้างรูปจำลอง การสเกตซ์ภาพ
  3. ด้านดนตรีและจังหวะ มีความสามารถในด้านดนตรี รักการฟังเพลง สามารถฟังเสียงโน้ต กิจกรรม ที่ส่งเสริมพัฒนาด้านนี้ ได้แก่ การร้องเพลงประสานเสียง การแต่งทำนองหรือเนื้อร้อง การเล่นเครื่องดนตรี การอ่านทำนองเสนาะ การสวดมนต์
  4. ด้านการเข้าใจตนเอง มีความสามารถรู้จักตนเอง มีการรับรู้อารมณ์ตนเอง สามารถปลอบใจตนเอง และสามารถที่จะอยู่ได้ด้วยตนเองตามลำพัง กิจกรรมที่พัฒนาด้านนี้ ได้แก่ การอ่านวารสาร การนั่งสมาธิ การบันทึกประจำวัน การเขียนคำประพันธ์
การพัฒนาสมองโดยการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพให้สูงสุด
ข้อควรระวังในการใช้นวัตกรรม ผลที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียน แหล่งเรียนรู้/โรงเรียนต้นแบบ
แนวการจัดกิจกรรมการสอน   ครูจำเป็นต้องใช้กลวิธีและเทคนิคที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นสมองของนักเรียน ไม่มีวิธีหรือเทคนิคของใครสมบูรณ์ที่สุด ดังนั้นการสอนที่ดีต้องสอดคล้องกับการที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายของการศึกษานั้น ขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ของบุคคลนั้นมีความหลากหลายและแตกต่างกันไปตามประสบการณ์และความสามารถพื้นฐานของบุคคลนั้น ๆ หรือ Style การเรียนรู้มีหลายรูปแบบ ดังนั้น ครูจึงจำเป็นต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมและเอื้อต่อผู้เรียน อย่างเสมอภาคกัน เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนุกสนานเกิดความสุขในการเรียนรู้ตามรูปแบบที่ตนถนัด รวมทั้งยังมีโอกาสพัฒนาความสามารถด้านอื่น ๆ ที่ตนเองไม่ถนัดด้วยวิธีการหลากหลายอีกด้วย โดยอาจเริ่มจากรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลแล้ววางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับลักษณะของผู้เรียนรวมทั้งสร้างโอกาสให้เขาได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนมีความสนุกสนานเกิดความสุขในการเรียนรู้ตามรูปแบบที่ตนถนัด รวมทั้งยังมีโอกาสพัฒนาความสามารถด้านอื่น ๆ ที่ตนเองไม่ถนัด https://lc.rsu.ac.th/weblog/11                 
http://journal.feu.ac.th/pdf/v3i1t2a9.pdf
https://www.learn.co.th/brain-based-learning/

Comment

Comment

นายสมไชย กระต่ายทอง0 2024-04-05 15:41:37
message user image
ผลิตมาให้ติดตามเพิ่มนะครับครู
ตอบกลับ 0 Reply   1  Like 
นายสมไชย กระต่ายทอง 2024-04-05 15:19:43
message user image
????????ยอดเยี่ยมเลยครับครู
ตอบกลับ 0 Reply   1  Like 
Mr.Surawuti Eawsakul2 2023-07-16 21:10:45
message user image
ตอบกลับ 0 Reply   1  Like 
นางสาวกนกวรรณ ศิริเลิศ 2023-04-29 15:42:41
message user image
ดีมากเลยค่ะ
ตอบกลับ 1 Reply   1  Like 
2024-04-05 15:20:14 message user image
นายสมไชย กระต่ายทอง
ใช่เลยครับ
นางสาวกนกวรรณ ศิริเลิศ2 2023-04-29 15:42:20
message user image
ดีมากเลยค่ะ
ตอบกลับ 0 Reply   0  Like 
นางสาวกนกวรรณ ศิริเลิศ 2023-04-29 15:41:54
message user image
ดีมากเลยค่ะ
ตอบกลับ 0 Reply   0  Like 
นายนพพร ศรีทองสุข2 2022-09-03 13:49:14
message user image
ตอบกลับ 0 Reply   2  Like 

นวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง

BRAIN-BASED LEARNING

การนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวสมองมาใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพให้สูงสุด

BLOOM S TAXONOMY

การเรียนรู้ที่ต้องอาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้นฐาน การจำแนกการเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย โดยในแต่ละด้านจะมีการจำแนกระดับความสามารถจากต่ำสุดไปถึงสูงสุด

DIGITAL CITIZENSHIP

แนวคิดแนวปฏิบัติที่ให้พลเมืองได้เรียนรู้และมีความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างชาญฉลาด มีการบริหารจัดการ กำกับตนเองได้ รวมถึงรู้เท่าทันและสามารถปกป้องตนเองจากความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล