Australia

Pixel perfect design with awesome contents

Explore Now

เพราะมีความแตกต่าง จึงต้องทำอย่างไร ให้เข้าใจความแตกต่างแต่ไม่แตกแยก SMLD Showcase

ให้คะแนนสมรรถนะนวัตกรรม


3

3

3

3

3

เลือกความสอดคล้องกับสมรรถนะ

ประเภท : ยังไม่ระบุ

เหมาะกับระดับชั้น

อนุบาล

ประถมศึกษา (ป.1-3)

ประถมศึกษา (ป.4-6)

มัธยมศึกษาตอนต้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย

หลักการและแนวคิดของนวัตกรรม การนำไปใช้ จุดเด่น
โรงเรียนบ้านห้วยมุ่นเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 2 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนชาติพันธุ์ชาวเขาเผ่าม้ง และนักเรียนท้องถิ่นในหลากหลายหมู่บ้านซึ่งมีระยะทางห่างไกล ภูเขาสลับคดเคี้ยว มีข้าราชการครูทั้งหมด 16 คน ครูแต่ท่านละจะมีภาระงานสอนที่มาก ภาระงานอื่นที่นอกเหนือจากภาระงานสอน ในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาและคุณภาพในการจัดการการจัดการเรียนการสอนที่มีความท้าทายยังมากไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเวลา ในการเรียนการสอน ภาระงานที่นอกเหนือจากงานสอน ตลอดจนการเรียนการสอนที่มีสื่อการสอนค่อนข้างจำกัด สภาพอากาศ สภาพภูมิประเทศ ซึ่งทำให้เข้าถึงทรัพยากรได้อย่างจำกัด ครู จึงมีหน้าที่เอื้ออำนวยความรู้ จัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้เหมาะแก่การเรียนรู้ ผู้บริหารต้องมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการให้เกิดเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเอื้ออำนวยความสะดวกแก่คณะครู นักเรียน ให้นักเรียนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ มีความรู้ความสามารถ มีทักษะชีวิต มีทักษะสังคมที่สามารถอยู่กับผู้อื่นได้อย่างปลอดภัยและมีความสุข ซึ่งจะทำให้นักเรียนเกิดความเสมอภาคเข้าใจในความแตกต่างระหว่างนักเรียนชาวเขาเผ่าม้ง และนักเรียนท้องถิ่น นักเรียนมีความรู้ความสามารถ ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ นักเรียนมีทักษะชีวิต มีทักษะสังคมที่สามารถเข้ากับผู้อื่นได้อย่างปลอดภัย นักเรียนมีความเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ครู มีการพัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามศักยภาพของแต่ละช่วงวัยด้วยความเหมาะสม ครูมีความโอบอ้อมอารี เข้าใจนักเรียน เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
ข้อควรระวังในการใช้นวัตกรรม ผลที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียน แหล่งเรียนรู้/โรงเรียนต้นแบบ
ครู มีการพัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามศักยภาพของแต่ละช่วงวัยด้วยความเหมาะสม ครูมีความโอบอ้อมอารี เข้าใจนักเรียน เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล ครูและนักเรียน คือความภาคภูมิใจของเรา โรงเรียนบ้านห้วยมุ่น

Comment

Comment

นายสมไชย กระต่ายทอง0 2024-04-05 15:46:14
message user image
ผลิตมาให้ติดตามเพิ่มนะครับครู
ตอบกลับ 0 Reply   0  Like 
นายสมไชย กระต่ายทอง 2024-04-05 15:15:23
message user image
ยอดเยี่ยมครับครู
ตอบกลับ 0 Reply   0  Like 

นวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง

WE_STRONG สร้างครูดีสู่ห้องเรียน

“WE–STRONG สร้างครูดีสู่ห้องเรียน” จัดทำขึ้นเพื่อสร้างนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๕ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ประเภทผู้บริหาร ตามปฏิทินการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างห้องเรียนคุณธรรม โดยใช้นวัตกรรม WE–STRONG สร้างครูดีสู่ห้องเรียน เพื่อให้ครูและนักเรียนกำหนดคุณธรรมอัตลักษณ์เพิ่มเติมเป็นของห้องเรียน และ เพื่อพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนให้เพิ่มขึ้น พัฒนาขึ้นเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมพัฒนาครูให้มีความตระหนัก ชักนำคุณธรรมสู่ห้องเรียน เพียรติดตามความดี มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเชิดชูนักเรียนดีมีคุณธรรม ผ่านกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม SWOT กำกับด้วยวงจรบริหารงานคุณภาพ PDCA ประกอบด้วยการวางแผน การปฏิบัติ การตรวจสอบ และการดำเนินการให้เหมาะสม โดยมีผู้บริหาร ครูและนักเรียน ผู้ปกครอง และศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นบุคลากรสำคัญในการดำเนินงานพัฒนารูปแบบนวัตกรรม

Adaptive Learning Algorithms การเรียนรู้ที่เหมาะสม

Adaptive learning เป็นการเรียนรู้ที่ปรับวิธีการให้ตรงกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน บนความเชื่อเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Difference) การสอนที่ปรับให้เข้ากับผู้เรียนทำให้เกิดการเรียนรู้ได้รวดเร็ว เหมาะสมกับบุคคลเช่น กิจกรรมการเรียนด้วยภาพ เสียง สื่อสำหรับผู้เรียน เสริมกระบวนการเรียน การเรียนรู้แบบ Adaptive Learning ได้ถูกปรับเปลี่ยนวิธีการ และได้รับพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความน่าสนใจมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้สื่อเข้ามามีส่วนร่วม การใช้เทคโนโลยี เทคนิคการ เรียนการสอนแบบใหม่ ๆ หรือแม้แต่แนวคิดการทำงานในองค์กรก็สามารถถูกนำมาเป็นรูปแบบ การเรียนรู้ได้

Pushing Back on education technology

Pushing Back on Education Technology คือ การนำเทคโนโลยีมาผลักดันให้เกิดการปรับปรุงระบบการศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของนักเรียนในการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เป็นโอกาสใหม่สำหรับทั้งนักเรียนและครูในการทำให้การเรียนรู้และการสอนมีประสิทธิภาพ การนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ เพื่อให้ได้ประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้