Australia

Pixel perfect design with awesome contents

Explore Now

หัวใจแห่งวิจัย (ปฐมบทล่อซื้อ)

ให้คะแนนสมรรถนะนวัตกรรม


3

3

3

3

3

เลือกความสอดคล้องกับสมรรถนะ

ประเภท : วิจัยและผลงานวิชาการ

เหมาะกับระดับชั้น

อนุบาล

ประถมศึกษา (ป.1-3)

ประถมศึกษา (ป.4-6)

มัธยมศึกษาตอนต้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย

หลักการและแนวคิดของนวัตกรรม การนำไปใช้ จุดเด่น
ด้วยข้าพเจ้าตรากตรำและเจ็บปวดในสนามรบวิจัยมาพอสมควร จึงมีความกระหายจะเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อแชร์ความคิดบางประการที่เกี่ยวกับการทำวิจัย โดยหวังจะเป็นประโยชน์ในเชิงลึกจากก้นบึ้ง (หวังนะ) และเปลี่ยนสนามรบ เป็น สนามรัก (วิจัย) กันได้พอสมควร

ก็หวังว่าจะเขียนเสร็จ พร้อมตีพิมพ์มาให้ยลกันสักช่วง ต.ค. ๖๖ ดังนั้นครับ ครั้งนี้จึงนำ ร่างปฐมบท มาล่อซื้อกับพี่ๆ น้องๆ กันก่อน เผื่อจะมีคนใจดี๊ดี พรีออเดอร์นะฮะ

หัวใจห้องที่ 1วิจัย = เรื่องง่ายๆ ใกล้ตัว ที่ดันทำให้ดูยากเราอยู่ในโลกที่กำลัง “เกทับ” กันในกระบวนการอธิบายความจริง.............................…        ...เธอใช้เครื่องมืออะไรในการวิจัย? เครื่องมือผ่านผู้เชี่ยวชาญแล้วหรือยัง? จะใช้สถิติอะไร? วิจัยหัวข้ออะไร ปริมาณ คุณภาพ หรือมิกซ์?... คำถามปลายทางเหล่านี้มักพบได้บ่อย และบ่อยขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเราพูดถึงการวิจัย จนนักวิจัยหน้าใหม่หรือผู้ที่จำเป็นต้องเป็นนักวิจัยหน้าใหม่เกิดความอีหลักอีเหลื่อ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกลายเป็นความกลัวต่อการทำวิจัย ว่ามันช่างยากเย็น และซับซ้อน เข้าใจยากไปซะหมด ความกลัวที่ทับถมนี่เองทำให้การวิจัยเป็นไปในลักษณะของการก๊อปปี้และดัดแปลง ตั้งแต่หัวข้อ ทบทวนวรรณกรรม วิธีวิทยา เครื่องมือ ยันการอภิปรายผล ทำให้ขาดการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ ที่มีคุณค่าต่อวงการนั้นๆ อย่างแท้จริง          การตั้งคำถามด้วยขั้นตอน เครื่องมือ และอีกสารพัดเชิงเทคนิคที่ยากต่อการเข้าใจในเบื้องต้น ล้วนทำให้เกิดการกดทับทางวิชาการต่อนักวิจัยรุ่นใหม่ๆ ที่ทำให้เกิดความรู้สึก “เก่งกว่าและด้อยกว่า” ในทางวิชาการ หรือร้ายกว่านั้น คือเป็นการสร้าง “กับดักทางวิชาการ” ของผู้ที่ก้าวมาสู่แวดวงวิจัยให้ปฏิบัติตามธรรมเนียมแบบนั้น เพราะเข้าใจว่าเป็นมาตรฐานที่พึงประพฤติ หากต้องการถูกมองว่าเป็นนักวิจัยที่เก่งจัง อันที่จริงหลายครั้งก็เป็นเพียงการสร้างเกราะป้องกันไม่ให้ความไม่รู้ของตนเองผุดโผล่ออกมาก็เท่านั้น          สังเกตไหมว่า คนยิ่งเรียนสูงเท่าไร ก็ยิ่งแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวน้อยลงเท่านั้น โดยเฉพาะพวก ดร. นำหน้าทั้งหลาย ที่จะไม่พูดเรื่องกว้างๆ ไปทั่ว แต่จะพูดเรื่องแคบๆ แต่ลึกซึ้ง ไม่ใช่เพราะกลัวดูโง่หรอกนะ แต่เนื่องจากพวกเขามีมาตรฐานในการพิสูจน์หรืออธิบายความรู้ในรูปแบบเฉพาะของเขา ดังนั้น เรื่องใดๆ ที่เขาไม่ได้มีมาตรฐานในการพิสูจน์หรืออธิบายความรู้นั้น ก็จะไม่มั่นใจว่าจริงเท็จเพียงใด รายละเอียดเป็นอย่างไร งั้นสู้ไม่แสดงความคิดเห็นดีกว่า ในทางเดียวกันถ้าเรามีมาตรฐานในการพิสูจน์หรืออธิบายเรื่องราวระดับกลางๆ เราก็แทบจะพูดหรือแสดงความคิดเห็นได้ทั่วไปทุกเรื่องอย่างกลางๆ เช่นกัน ซึ่งก็เพียงพอแล้วที่จะเชื่อในข้อเท็จจริงนั้นๆ ได้ แต่อย่าเผลอไปเถียงข้างๆ คูๆ ในเรื่องที่บรรดา ดร. นั้นรู้เลยนะ เขาจะขยี้เราให้แหลกคึ !!! เลยทีเดียว          ดังนั้น หากเราจะสลัดความน่ากลัวของการวิจัย เปลี่ยนมาเป็นผูกมิตร เข้าใจ และใช้ประโยชน์จากมันได้ เราต้องมองข้ามเรื่องเครื่องมือหรือวิธีการไปก่อน แล้วหวนกลับมารู้จักวิธีคิดหรือที่ไปที่มาของวิจัยให้มากขึ้น อย่างแรกเลย “เก็บคำว่าวิจัยใส่กระเป๋าไว้ซะ” และเผื่อผู้อ่านบางท่านรีบหรือมีเวลาจำกัด เช่น ต้องนำไปสอบในวันพรุ่งนี้ ผู้เขียนขออนุญาตเฉลยหัวใจบางประการ ณ ที่แห่งนี้เลยว่า// ความจริง ตั้งอยู่ของมันเฉยๆ เช่น ปรากฏการณ์ธรรมชาติ// ความรู้ เกิดขึ้นเมื่อ มีการค้นหาและอธิบายความจริงนั้นๆ// วิจัย คือ กระบวนการค้นหาและอธิบายความจริงนั้นๆ อย่างเป็นระบบระเบียบ มีขั้นตอนและแบบแผน ที่น่าเชื่อถือหรือยอมรับได้ เพียงพอต่อการบอกว่า (ความรู้) “ความจริงมันเป็นแบบนั้นนะ” ….ติดตามต่อเล่มจริงจ้า…..
ศึกษาก่อนเริ่มทำวิจัย พยายามพาไปเข้า “แก่น” ของวิจัย เพื่อให้สบายและมีมุมมองที่ดีต่อการทำวิจัยมากขึ้น
ข้อควรระวังในการใช้นวัตกรรม ผลที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียน แหล่งเรียนรู้/โรงเรียนต้นแบบ
ไม่ใช่การนำเทคนิคต่างๆ มายัด เพราะมีหลายเล่มเป็นแบบนั้นอยู่แล้วหรือหาในเน็ตเอาได้ การศึกษาและงานวิชาการมีคุณภาพ โดยผู้วิจัยไม่เหนื่อย ไม่เครียด

Comment

Comment

นางสาวชนิกานต์ พุทธารักษ์0 2023-07-30 00:45:48
message user image
น่าสนใจมากคับ
ตอบกลับ 0 Reply   0  Like 

นวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง

WE_STRONG สร้างครูดีสู่ห้องเรียน

“WE–STRONG สร้างครูดีสู่ห้องเรียน” จัดทำขึ้นเพื่อสร้างนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๕ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ประเภทผู้บริหาร ตามปฏิทินการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างห้องเรียนคุณธรรม โดยใช้นวัตกรรม WE–STRONG สร้างครูดีสู่ห้องเรียน เพื่อให้ครูและนักเรียนกำหนดคุณธรรมอัตลักษณ์เพิ่มเติมเป็นของห้องเรียน และ เพื่อพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนให้เพิ่มขึ้น พัฒนาขึ้นเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมพัฒนาครูให้มีความตระหนัก ชักนำคุณธรรมสู่ห้องเรียน เพียรติดตามความดี มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเชิดชูนักเรียนดีมีคุณธรรม ผ่านกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม SWOT กำกับด้วยวงจรบริหารงานคุณภาพ PDCA ประกอบด้วยการวางแผน การปฏิบัติ การตรวจสอบ และการดำเนินการให้เหมาะสม โดยมีผู้บริหาร ครูและนักเรียน ผู้ปกครอง และศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นบุคลากรสำคัญในการดำเนินงานพัฒนารูปแบบนวัตกรรม

Adaptive Learning Algorithms การเรียนรู้ที่เหมาะสม

Adaptive learning เป็นการเรียนรู้ที่ปรับวิธีการให้ตรงกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน บนความเชื่อเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Difference) การสอนที่ปรับให้เข้ากับผู้เรียนทำให้เกิดการเรียนรู้ได้รวดเร็ว เหมาะสมกับบุคคลเช่น กิจกรรมการเรียนด้วยภาพ เสียง สื่อสำหรับผู้เรียน เสริมกระบวนการเรียน การเรียนรู้แบบ Adaptive Learning ได้ถูกปรับเปลี่ยนวิธีการ และได้รับพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความน่าสนใจมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้สื่อเข้ามามีส่วนร่วม การใช้เทคโนโลยี เทคนิคการ เรียนการสอนแบบใหม่ ๆ หรือแม้แต่แนวคิดการทำงานในองค์กรก็สามารถถูกนำมาเป็นรูปแบบ การเรียนรู้ได้

Pushing Back on education technology

Pushing Back on Education Technology คือ การนำเทคโนโลยีมาผลักดันให้เกิดการปรับปรุงระบบการศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของนักเรียนในการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เป็นโอกาสใหม่สำหรับทั้งนักเรียนและครูในการทำให้การเรียนรู้และการสอนมีประสิทธิภาพ การนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ เพื่อให้ได้ประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้