Australia

Pixel perfect design with awesome contents

Explore Now

บอร์ดเกม Yes I can SOLVE IT ปัญหาแค่นี้เราแก้ได้



ให้คะแนนสมรรถนะนวัตกรรม


3

3

3

3

3

เลือกความสอดคล้องกับสมรรถนะ

ประเภท :

เหมาะกับระดับชั้น

อนุบาล

ประถมศึกษา (ป.1-3)

ประถมศึกษา (ป.4-6)

มัธยมศึกษาตอนต้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย

หลักการและแนวคิดของนวัตกรรม การนำไปใช้ จุดเด่น

"ทำภาพในมโนออกมาเป็นรูปธรรม"


เมื่อแรกทำความเข้าใจคำว่า Computational Thinking หรือแนวคิดเชิงคำนวณหรือวิทยาการคำนวณนั้นขนาดผมเองครูผู้สอนกว่าจะย่อย แยก แล้วรวมหัวใจหลักทั้งสี่อย่าง การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย (Decomposition) , การพิจารณารูปแบบ (Pattern Recognition) , การคิดเชิงนามธรรม (Abstraction) และการออกแบบอัลกอริทึม (Algorithm) ให้เข้าใจแล้วอินกับมันได้ก็ใช้เวลาครึ่งค่อนวัน...ผมจึงอยากเอาภาพความเข้าใจเหล่านั้นมาปั้นเป็นก้อนเพื่อหวังว่านักเรียนตัวน้อยของผมจะสามารถสัมผัสมันง่ายขึ้น

แล้วเมื่อคิดว่าจะปั้นเป็นอะไรนั้น หนึ่งในสิ่งที่แวบเข้ามาในหัวของผมก็คือ "เกม" เพราะผมก็โตมาในยุคที่เข้าถึงเกมได้ง่าย (ประมาณยุค90) แล้วเกมก็ทำให้เด็กยุคผมเป็นต้นมาต่างมีความสุข สนุกได้เสมอ และสิ่งที่ทำให้ผมอยากปั้นองค์ความรู้ มวลประสบการณ์ที่อยากถ่ายทอดไปหานักเรียนเป็นเกม ก็เพราะ...เราจะเกิดการเรียนรู้ได้แบบไม่รู้ตัว แบบไม่ถูกยัดเยียด แต่เราจะค่อย ๆ ลูบ สัมผัสมันอย่างช้า ๆ เพราะมันทำให้เราสนุก แล้วมีความสุข โดยไม่รู้ตัวเลยว่าระหว่างกระบวนการนั้น ตัวเราเองค่อย ๆ ซึมซับสิ่งที่แฝงอยู่ในนั้นไปเรียบร้อยแล้ว


วิธีการเล่นบอร์ดเกม Yes I can SOLVE IT ปัญหาแค่นี้เราแก้ได้

ถึงแม้ขั้นตอนการเล่นจะมีหลายขั้นตอนแต่ก็เพื่อครอบคลุมกระบวนการและหลักการของวิทยาการคำนวณครับ ซึ่งจากการใช้กับนักเรียนก็พบว่าเมื่อนักเรียนอ่านคู่มือ แล้วลงมือเล่นจริง นักเรียนก็จะเรียนรู้วิธีการเล่นได้อย่างรวดเร็วครับ(ขึ้นชื่อว่าเด็กเรื่องเกมจะเรียนรู้เร็วเสมอครับ 555)


ภาพบรรยากาศการเล่นบอร์ดเกม Yes I can SOLVE IT ปัญหาแค่นี้เราแก้ได้



Concept ของบอร์ดเกม Yes I can SOLVE IT ปัญหาแค่นี้เราแก้ได้


ผมนำหลักการของแนวคิดเชิงคำนวณทั้งสี่ข้อ คือ การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย (Decomposition) , การพิจารณารูปแบบ (Pattern Recognition) , การคิดเชิงนามธรรม (Abstraction) และการออกแบบอัลกอริทึม (Algorithm) มาจับใส่เป็นอัลกอลิทึมของบอร์ดเกมหรือก็คือกติกาของเกม โดยเป้าหมายคือ เมื่อนักเรียนเล่นเกมไปตามกติกาของเกม นักเรียนจะเกิดกระบวนการคิด แก้ปัญหา วิเคราะห์ นำเสนอกระบวนการแก้ปัญหา และนักเรียนก็ยังจะเป็นผู้ประเมินหรือตัดสินกระบวนการแก้ปัญหาของนักเรียนคนอื่นหรือทีมอื่นด้วย โดยจากเริ่มต้นจนถึงจบเกมนั้นนอกจากนักเรียนได้เกิดทักษะตามลักการของแนวคิดเชิงคำนวณแล้ว นักเรียนยังเกิดทักษะการทำงานเป็นทีม การแสดงออก การนำเสนอ การเป็นผู้ประเมิน รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และกระบวนการประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการโหวตครับ หรือสามารถเสริมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษได้อีกด้วยครับ เพราะที่การ์ดและบอร์ดจะมีคำศัพท์ภาษาอังกฤษควบคู่กับภาษาไทยครับ

ข้อควรระวังในการใช้นวัตกรรม ผลที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียน แหล่งเรียนรู้/โรงเรียนต้นแบบ
***การให้นักเรียนทำความเข้าใจกติกาการเล่นเกมให้ครบถ้วน และการควบคุมเวลาการดำเนินการเล่นเกมที่เหมาะสม*** บอร์ดเกม “Yes I Can Solve It ปัญหาแค่นี้เราแก้ได้” ได้เปิดโลกทัศน์ใหม่ในการเรียนรู้ของผู้เรียนในรูปแบบใหม่คือการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐาน(Game-Based Learning : GBL) ที่ทำให้ผู้เรียนได้เกิดความสนุกจากการเล่นเกม ซึ่งบอร์ดเกม “Yes I Can Solve It ปัญหาแค่นี้เราแก้ได้” ได้สร้างความสนใจในการเล่นเกม เร้าอารมณ์ในการชนะเกม และตื่นเต้นกับการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์และทัศนคติที่ดีได้ด้วยตนเอง ต่อยอดนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาอื่นและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันทำให้แก้ปัญหาได้อย่างมีสติ มีเหตุและมีผล

Comment

Comment

นายสมไชย กระต่ายทอง0 2024-04-05 15:52:01
message user image
ยอดเยี่ยมเลยครับครู
ตอบกลับ 0 Reply   0  Like 
นายสมไชย กระต่ายทอง 2024-04-05 15:51:39
message user image
ผลิตมาให้ติดตามเพิ่มนะครับครู
ตอบกลับ 0 Reply   0  Like 

นวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง

Robotic Coding

Robotics/Coding เป็นยุคสมัยที่จัดการเรียนรู้โดยนำหุ่นยนต์มาเป็นสื่อหนึ่งในการสร้างภาพให้เห็นการทำงานเป็นขั้นตอนและวิธีการคิดแก้ปัญหาที่เป็นระบบ ซึ่งเป็นผลจากการคิดเชิงคำนวณ

Game-Based Learning (GBL)

Game-Based Learning (GBL) เป็นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ Active Learning โดยใช้เกมเป็นสื่อการเรียนรู้ ออกแบบการเรียนรู้โดยสอดแทรกเนื้อหาบทเรียนลงไปในเกม ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านกิจกรรมที่ออกแบบไว้ ทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ทักษะ และความเพลิดเพลินไปพร้อมๆกันจากการเล่นเกมและเป็นการจูงใจให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง

Mobile Learning

Mobile Learning หรือ m-Learning เป็นการจัดการเรียนรู้ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีไร้สายและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาด้วยอุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่ (Mobile Device) เช่น Smart Phone, Notebook Computer, Tablet PC เป็นต้น